อากาศยานลำแรกที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า HOT AIR BALLOON ผู้สร้างคือ Mogtgolfier 2326 ในปี 2328 ใช้ BALLOON ข้ามช่องแคบอังกฤษได้สำเร็จ
ปี 2362 มีกฎหมายรองรับในการเดินอากาศและตกเป็นกฎหมายให้บอลลูนที่จะทำการบินต้องมีร่มชูชีพติดประจำ
ปี 2398 มีอากาศยานที่หนักกว่าอากาศเกิดขึ้น (เป็นเครื่องร่อนแบบปีกนก)
ปี 2446 พี่น้องตระกูล WRIGHT ทำการบิน และวันที่ 25 เมษายน 2452 ทำการบินข้ามช่องแคบอังกฤษได้สำเร็จ
และได้มีคำกล่าวว่า ENGLISH NO LONGER ON ISLAND ฃึ่งหมายถึง อังกฤษไม่โดดเดี่ยวไม่เป็นเกาะอีกต่อไปแล้ว
และได้มีคำกล่าวว่า ENGLISH NO LONGER ON ISLAND ฃึ่งหมายถึง อังกฤษไม่โดดเดี่ยวไม่เป็นเกาะอีกต่อไปแล้ว
ประวัติการบินในไทย
พ.ศ.2453 มีเครื่องบินลำแรกเข้ามาในประเทศไทยโดย MR VONDOR BORN
พ.ศ.2454 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าใ้ห้นายทหารมาเรียนการบินที่ฝรั่งเศส
พ.ศ.2457 สร้างสนามบินดอนเมือง
วันที่ 17 ก.พ.2462 ทำการบินขนส่่งไปรษณีย์จากดอนเมืองไปถึงจันทบุรีโดยเครื่องบินรบ
วันที่ 1 มิ.ย.2465 เปิดสายการบินประจำระหว่างดอนเมืองไปนครราชสีมา ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี สายการบินต่างประเทศที่เข้ามา
คือ สายการบิน KLM ROYAL DUTCH AIRLINE (เนเธอร์แลนด์) ในปี 2467 ที่เข้ามาเนื่องจากบินสำรวจเส้นทางไปอินโดนิเซีย
คือ สายการบิน KLM ROYAL DUTCH AIRLINE (เนเธอร์แลนด์) ในปี 2467 ที่เข้ามาเนื่องจากบินสำรวจเส้นทางไปอินโดนิเซีย
ปี พ.ศ.2472 มีมติคณะรัฐมนตรีแยกการบินพลเรือนออกมาจากทหาร
จากกองอากาศการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง สู่ กองอุตุนิยมวิทยาขนส่งที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นับตั้งแต่กิจการการบินได้เริ่มต้นเมื่อประมาณ 80 ปีก่อน วิชาการอุตุนิยมวิทยาได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในด้านการบินมาตามลำดับ
ปี พ.ศ.2466 ได้มีการจัดตั้งสถานีตรวจอากาศดอนเมือง ซึ่งในเวลานั้น
กิจการอุตุนิยมวิทยาเพิ่งเริ่มขึ้นที่กรมทดน้ำ (ปัจจุบันกรมชลประทาน)
ทำหน้าที่ตรวจอากาศโดยทั่วไป ตรวจอากาศผิวพื้นและการตรวจอากาศชั้นบน รายงานให้นักบินได้ทราบ
ปี พ.ศ. 2479 ได้โอนมารวมเป็นกองอุตุนิยมวิทยา สังกัดกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ
ทางด้านอากาศการบินได้ทำรายงานและ พยากรณ์อากาศสำหรับสายการบิน
ตามความต้องการของบริษัทเดินอากาศ
รวม 4 สาย
คือ ดอนเมือง-ร่างกุ้ง, ดอนเมือง-สิงคโปร์ และดอนเมือง-ไซ่ง่อน
ปี พ.ศ. 2491 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ปรับปรุงด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สายการบินต่างๆที่มาใช้บริการ สนามบินมากขึ้น
จึงได้ยกฐานะสถานีตรวจอากาศดอนเมืองขึ้นเป็น สถานีพยากรณ์อากาศดอนเมือง
ทำการตรวจอากาศเขียนแผนที่ อากาศต่างๆ รวมทั้งพยากรณ์อากาศเพื่อการบิน
ปี พ.ศ. 2506 ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็น กองอากาศการบิน
แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น 3 งาน
ได้แก่ งานแผนที่อากาศการบิน งานตรวจอากาศการบิน และงานพยากรณ์อากาศการบิน
ได้แก่ งานแผนที่อากาศการบิน งานตรวจอากาศการบิน และงานพยากรณ์อากาศการบิน
ปี พ.ศ. 2523 ได้เพิ่มงานธุรการและงานติดตามสภาวะอากาศขึ้น
ปี พ.ศ. 2530 ได้มีการปรับปรุงหน้าที่ใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 1งาน กับ 4 ฝ่าย คือ
งานธุรการ ฝ่ายตรวจและรายงานอากาศการบิน ฝ่ายแผนที่อากาศการบิน
ฝ่ายพยากรณ์อากาศการบิน และฝ่ายติดตามสภาวะอากาศ
ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการแบ่งส่วนราชการกรมอุตุนิยมวิทยาใหม่ ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็น
สำนักอุตุนิยมวิทยาขนส่ง แบ่งหน้่าที่ ความรับผิดชอบเป็น 1 ฝ่าย กับ 4 ส่วนคือ
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ส่วนพัฒนาการเฝ้าระวังอากาศการบิน ส่วนแผนที่อากาศการบิน
ส่วนพยากรณ์อากาศการบิน และส่วนติดตามสภาวะอากาศเพื่อการขนส่ง
จนกระทั่งมีการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 28 กันยายน 2549 สำนักอุตุนิยมวิทยาขนส่ง จึงได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติงาน
จากท่าอากาศยานดอนเมือง มาสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ.2552 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองอุตุนิยมวิทยาการบิน ต่อมาได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น 1 ฝ่าย กับ 5 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ส่วนพัฒนาการเฝ้าระวังอากาศการบิน ส่วนแผนที่อากาศการบิน ส่วนพยากรณ์อากาศการบิน ส่วนติดตามสภาวะอากาศการบิน ส่วนตรวจและเฝ้าระวังด้วยเครื่องมือพิเศษ
ในวันที่ 5 ตุลาคม 2560 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 103 ก ได้มีการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนราชการในสังกัดกรมอุตุนิยมวิทยาและได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองอุตุนิยมวิทยาการบิน" แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบเป็น 1 ฝ่าย กับ 8 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ส่วนพยากรณ์อากาศการบิน ส่วนติดตามสภาวะอากาศการบิน ส่วนวิจัยและพัฒนาอากาศการบิน ส่วนมาตรฐานอุตุนิยมวิทยาการบิน ส่วนแผนที่อากาศการบิน ส่วนตรวจอากาศการบินสุวรรณภูมิ ส่วนตรวจอากาศการบินดอนเมือง และ ส่วนตรวจและเฝ้าระวังด้วยเครื่องมือพิเศษ