เรียบเรียงโดย ... ทีมงานเว็บไซต์กองอุตุนิยมวิทยาการบิน

ส่วนตรวจและเฝ้าระวังด้วยเครื่องมือพิเศษ

http://www.aeromet.tmd.go.th
โทร 02-1340005 FAX 02-1340005

     ภารกิจงานเรดาร์ส่วนตรวจและเฝ้าระวังด้วยเครื่องมือพิเศษ คือรายงานกลุ่มฝนที่ตรวจพบในระยะรัศมี50กิโลเมตร
ที่มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้ามายังบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองเพื่อแจ้งเตือนSOPให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสายการบินและหอควบคุมจราจรทางอากาศ,หอควบคุมลานจอดฝั่งตะวันออกโดยจะทำการตรวจ
ด้วยเรดาร์ทุกๆ10นาทีจนกระทั่งกลุ่มฝนเคลื่อนตัวออกไปพร้อมกับยกเลิกการรายงานสภาพอากาศร้ายSOP
จากพายุฝนฟ้าคะนองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ,ท่าอากาศยานดอนเมืองและทั้งนี้ต้องใช้ข้อมูลการแจ้งเตือนด้วย
ค่าความเข้มประจุไฟฟ้า,ภาพถ่ายดาวเทียม,ระบบตรวจอากาศAWOS Wind Sheer,เครื่องมือWind Profile,เครื่องมือLidar
มาช่วยในการติดตามการเคลื่อนตัวของกลุมฝนเพื่อความปลอดภัยของเครื่องบินและประชาชนที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ
และสนามบินดอนเมืองอย่างปลอดภัยสูงสุดด้วยนโยบายคุณภาพISO9001:2008 มุ่งมั่นให้บริการข้อมูลอุตุนิยมวิทยาการบิน
ด้วยความถูกต้อง แม่นยำ ทันเวลาตามมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัย ประหยัดและมีประสิทธิภาพแก่ผู้รับบริการ



ส่วนตรวจและเฝ้าระวังด้วยเครื่องมือพิเศษรับผิดชอบเครื่องมือดังต่อไปนี้


1.เครื่องมือระบบรับภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT,NOAA
2.เครื่องมือระบบหาพิกัดตำแหน่งฟ้าแลบและระบบแจ้งเตือนฟ้าผ่าLightning Detection and Warning System (LLWS)
3.เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศดอปเปอร์ (Doppler weather radar)
4..เครื่องมือวัดลมเฉือนแนวขึ้น-ลงของเครื่องบิน(LIDAR)
5.เครื่องมือตรวจวัดลมชั้นบนระดับต่างๆ(Wind Profiler)

1.เครื่องมือระบบรับภาพถ่ายดาวเทียม MTSAT,NOAA
นำภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งมีภาพถ่ายเมฆมาเปรียบเทียบกับข้อมูลกลุ่มฝนจากภาพเรดาร์และเปรียบเทียบค่าความเข้ม
ของสนามไฟฟ้าค่าประจุไฟฟ้าบริเวณที่เกิดประจุนำมาเปรียบเทียบและติดตามการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆฝนฟ้าคะนอง
ที่ตรวจพบในระยะรัศมี50กิโลเมตรที่มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้ามายังบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองเพื่อ
แจ้งเตือนลักษณะอากาศร้ายและเก็บข้อมูลไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรม,ใช้ประกอบพิสูตรหลักฐาน
ประกันภัยเมื่อเครื่องบินประสพอุบัติเหตุ

2.เครื่องมือระบบหาพิกัดตำแหน่งฟ้าแลบและระบบแจ้งเตือนฟ้าผ่าLightning Detection and Warning System (LLWS)
รายงานค่าความเข้มของสนามไฟฟ้า(ค่า EFM)บริเวณสนามบิน ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจ การบันทึก และการรายงาน
ค่าความเข้มของสนามไฟฟ้า ให้กับส่วนติดตามสภาวะอากาศเพื่อการบินเพื่อใช้ประกอบการแจ้งเตือนฟ้าผ่าบริเวณสนามบิน
เพื่อแจ้งเตือนให้พนักงานที่ทำงานนอกบริเณอาคารสนามบิน,พนักงานบริเวณลานจอดเครื่องบินเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากฟ้าผ่า

3.เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศดอปเปอร์ (Doppler weather radar) รายงานกลุ่มฝนที่ตรวจพบในระยะรัศมี50กิโลเมตรที่มี
แนวโน้มจะเคลื่อนเข้ามายังบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองและแจ้งเครื่องบินเพื่อหลบกลุ่มฝนตาม
เส้นทางบินเพื่อแจ้งเตือนSOPให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสายการบินและหอควบคุมจราจรทางอากาศ,
หอควบคุมลานจอดฝั่งตะวันออกโดยจะทำการตรวจด้วยเรดาร์ทุกๆ10นาทีจนกระทั่งกลุ่มฝนเคลื่อนตัวออกไปพร้อมกับ
ยกเลิกการรายงานสภาพอากาศร้ายSOPจากพายุฝนฟ้าคะนองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ,ท่าอากาศยานดอนเมือง

4.เครื่องมือวัดลมเฉือนแนวขึ้น-ลงของเครื่องบิน(LIDAR) เครื่องวัดลมเฉือนแนวขึ้น-ลง ของเครื่องบิน (LIDAR)
ตรวจวัดความเร็ว และทิศทางของกระแสลมได้ทั้ง ในแนวตั้ง และแนวนอนครอบคลุมแนวการขึ้น-ลง ของเครื่องบิน
(Flight Path) และตรวจวัดพร้อมแจ้งเตือน กระแสอากาศปั่นป่วน (Turbulence) และลมเฉือนที่เกิดขึ้นในสภาวะ
อากาศแจ่มใสไม่มีพายุฟ้าคะนอง

5.เครื่องมือตรวจวัดลมชั้นบนระดับต่างๆ(Wind Profiler) เครื่องมือตรวจลมชั้นบนระดับต่างๆ (Wind Profiler) ตรวจวัดความเร็ว
และทิศทางของลมชั้นบน ที่ระดับ ต่างๆ จากพื้นดิน และตรวจวัดพร้อมแจ้งเตือนการเกิดลมเฉือนบริเวณที่เกิดพายุฟ้าคะนอง
โดยข้อมูลทั้งหมดที่ ตรวจวัดได้ สามารถระบุเวลา และระดับความสูงที่เกิดสภาวะลมเฉือนได้