เรียบเรียงโดย ... ทีมงานเว็บไซต์กองอุตุนิยมวิทยาการบิน

การตรวจวัดค่าทัศนะวิสัยในด้านการบิน Visibility Observation

     ในทางอุตุนิยมวิทยาทัศนวิสัยหมายถึง ระยะไกลที่สุดที่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ต้องเห็นชัดเจนในอากาศแจ่มใส
เช่น ทิวเขา บ้านเรือน ต้นไม้หรือปล่องไฟ เมื่อที่หมายนั้นๆมัวลงหรือจางไปจากที่เคยสังเกตเห็นในอากาศที่แจ่มใสแล้ว
เราถือว่าเห็นไม่ชัด ที่หมายสำหรับการตรวจทัศนวิสัยในทุกๆสนามบินต้องมีและทุกแห่งต้องมีการตรวจอากาศสำหรับการบิน
โดยจะมีที่หมายรอบๆสถานีในระยะต่างๆกัน ตั้งแต่ 10 เมตร 50เมตร 100 เมตร 500 เมตร 1000 เมตร 1.5 กิโลเมตร
5 กิโลเมตร 8 กิโลเมตร เป็นต้นให้สังเกตดูว่าในเวลาที่อากาศแจ่มใสนั้นที่หมายใดในระยะใดเห็นชัดอย่างไร
เมื่ออากาศไม่ดีเป็นภาวะที่ที่ทัศนวิสัยลดลงเช่นมีหมอก,ฝุ่น,ฟ้าหลัวหรือฝน ที่หมายใดที่ไกลที่ยังมองเห็นได้ชัดเจน
เหมือนในสภาวะที่อากาศแจ่มใส ให้ถือระยะนั้นเป็นค่าค่าของทัศนวิสัย ในเวลากลางคืนความมืดไม่ใช่ลักษณะของลมฟ้าอากาศ
ที่ทำให้ทัศนวิสัยเสีย โดยให้ถือว่าขนาดของความโปร่งแสงของบรรยากาศเท่ากันทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
เมื่อท้องฟ้าโปร่งอากาศแจ่มใสจะต้องเห็นจุดต่างๆได้ชัดเจนเช่นเดียวกับเวลากลางวันโดยการสังเกตเห็นจากดวงไฟ
ที่มีความเข้มปานกลางตามปกติแล้วระยะต่างๆที่กำหนดไว้จะติดไฟประจำไว้ด้วย

การกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับทัศนวิสัย มีเกณฑ์กำหนดดังนี้คือ

1.ถ้าทัศนวิสัยมากกว่า 8 กม. มักไม่มีลักษณะอากาศร้าย อันจะเป็นอันตรายต่อการบิน

2.ถ้าทัศนวิสัยอยู่ระหว่าง 2-8 กม. อาจจะมีลักษณะอากาศร้าย อันจะเป็นอันตรายต่อการบินเช่น ฝนตกปานกลาง
พายุฟ้าคะนอง ฟ้าหลัวแห้ง ฟ้าหลัวชื้นอย่างรุนแรง หรือ หมอกบาง

3.ถ้าทัศนวิสัยมากกว่า 2 กม. ใช้กฎการบินด้วยสายตา (Visual Flight Rule = VFR)

4.ถ้าทัศนวิสัยน้อยกว่า 2 กม.ใช้กฏการบินด้วยเครื่องมือ (Instrument Flight Rule =IFR) ซึ่งจะต้องใช้ ILS
(Instrument Landing System) ในการร่อนลง (Landing) ค่านี้ในปัจจุบันท่าอากาศยานต่างๆ มักจะกำหนดไว้ที่ 1,500 เมตร
โดยกำหนดไว้ใน AIP (Airport Information Publication) โดยท่่าอากาศยานที่ไม่มี ILS เครื่องบินขึ้นลงไม่ได้

5.ถ้าทัศนวิสัยน้อยกว่า 1 กม. เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาจะต้องแจ้งให้หอบังคับการบินทราบ และหอบังคับการบินเริ่มใช้
กฏควบคุมการบินด้วยลักษณะอากาศต่ำสุด (Weather Minimum) โดยเริ่มขบวนการดังนี้คือ

(1) ทัศนวิสัยอยู่ระหว่าง 800 -1,000 เมตร เครื่องบินทุกชนิดขึ้นลงได้ แต่ต้องใช้ ILS (Instrument Landing System)

(2) ทัศนวิสัยอยู่ระหว่าง 500 - 800 เมตร เครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้นได้ ลงไม่ได้ เครื่องบินขนาดเล็กขึ้นได้ ลงได้

(3) ทัศนวิสัยอยู่ระหว่าง 300 – 500 เมตร เครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้นไม่ได้ ลงไม่ได้ เครื่องบินขนาดเล็กขึ้นได้ ลงไม่ได้

(4) ทัศนวิสัยน้อยกว่า 300 เมตร เครื่องบินทุกชนิดขึ้นลงไม่ได้ สนามบินปิด

ทัศนวิสัยในทางการบิน

1. Main Meteorological Visibility คือค่าทัศนวิสัยในทิศทางที่สำคัญ เช่น บริเวณทางวิ่งสนามบิน

2. Prevailing Visibility คือทัศนวิสัยที่ปกคลุมพื้นที่มากกว่าครึ่งวงกลม

3. Runway Visibility (RVV) คือทัศนวิสัยที่ทางวิ่ง ถ้าทัศนะวิสัยที่ทางวิ่งแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดกับทัศนวิสัยโดยทั่วไป
แล้วให้รายงานทัศนวิสัยที่ทางวิ่งโดยกำกับทิศทางไว้ด้วย

4. Runway Visual Range (RVR) มีความสำคัญต่อการบินขึ้นลงมากเพราะเป็นค่าทัศนวิสัยสูงสุดที่นักบินจะสามารถมอง
จากห้องนักบิน Cock pit ออกไปข้างหน้าตามเส้นกลางของทางวิ่งว่าได้ไกลแค่ไหน ในขณะที่เครื่องบินแตะพื้นทางวิ่ง
ซึ่งในทางปฏิบัติเราไม่สามารถวัดด้วยสายตาได้ เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Trans-missometer ติดตั้งอยู่ใกล้ๆกับจุดแตะพื้น
ของเครื่องบิน มีส่วนประกอบสองส่วนคือ Transmitter, Receiver

5. Flight visibility
5.1 In Flight Visibility – Horizontal Height Visibility ความสามารถในขณะที่ทำการบินนักบินสามารถมองไปข้างหน้า
ได้ไกลเท่าใดในแนวราบ5.2 Slant Visibility , Approach Visibility ความสามารถของนักบินที่จะมองเห็นได้ในแนว
เฉียงเพื่อให้เห็นทางวิ่ง

     การตรวจอากาศตามปกติ ทำการตรวจที่พื้นดินตามแนวราบ (Horizontal) แต่ในการนำเครื่องบินลงนักบินจะใช้ทัศนวิสัย
ตามแนวเฉียง (Slant) คือทัศนะวิสัยจากอากาศสู่พื้นดิน ซึ่งปกติจะมีค่ามากกว่าทัศนวิสัยตามแนวราบ เช่นในกรณีที่ตำแหน่ง
ของเครื่องบินอยู่ในสภาวะอากาศแจ่มใสและมีหมอกปกคลุมอยู่เบื้องล่าง หากตำแหน่งของเครื่องบินในขณะนั้นอยู่ใน
ตำแหน่งที่เหมาะสม นักบินอาจมองเห็นสภาพของสนามบินได้ค่อนข้างชัดเจน แต่เมื่อลดระดับลงมาจนเครื่องบินอยู่ใกล้ชั้นหมอก
หรือในชั้นหมอก นักบินอาจมองไม่เห็นสภาพทางวิ่ง ทำให้นักบินตัดสินใจผิดพลาดอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุด้านการบินขึ้นได้